โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, Thailand
Win Place for your Beautiful Vacation

คลังบทความของบล็อก

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

คอนเสิร์ตเสียงนี้ที่คิดถึง

คอนเสิร์ตเสียงนี้ที่คิดถึง
ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล
ศิลปินแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
วันพุธ ที่ 29 เมษายน 2554
ห้องอาหารทานตะวัน โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่
บัตรราคา 1,500 บาท / 4 ท่าน
สำรองความประัทับใจ
คุณสวรรค์ แคว้นไธสง
08 3564 1118

คุณชัยดี กมลสูงสุด
08 1884 8066



วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

การวางแผนขับเคลื่อนให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดแห่งอาหารปลอดภัย
การประชุม 
คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
ครั้งที่ 1/2554
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ณ ห้องประชุมราชาวดี โรงแรมวินเพลส
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่




ดร. ธนะชัย พันธ์เกษมสุข 1 ในคณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย 



คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย

คุณ บุญย์ศิริ ตุลาพันธุพงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารโครงการ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และ คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่


คณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

ไปฟังผู้สูงวัยเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 1 ณ วินเพลส

ไปฟังผู้สูงวัยเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 1 

จะเล่าเรื่องที่ได้ไปร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดต่อเนื่อง มาตลอดทุกปี  เรื่อง  “การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ”   ปีนี้ได้จัดที่  โรงแรมวินเพลส  จ. เชียงใหม่   เมื่อวันแห่งความรัก  14-15 กุมภาพันธ์  54  ที่ผ่านมา   ซึ่งจัดโดยงานทันตสาธารณสุขศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่  ซึ่งมีผู้รับผิดชอบ คือ หมออ๊อด  (รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10)  และ สาวงามของงานทันตสาธารณสุขอีก 2 คือ น้องน้อยคนงามและน้องยาคนสวย  ( เรื่องความสวยงามไม่มีใครยอมใคร  อิอิ   เลยต้องชมทั้งสองคน )  ส่วนผู้เขียนไม่ได้เกี่ยวกับงานทันตฯ  แต่ไปในนามของคณะกรรมการ  PMQA หมวด 4     ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปจับผิด   เอ๊ย   จับประเด็นการ ลปรร.   แต่ส่วนตัวก็ชอบงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอยู่เป็นทุนเดิม     ฉะนั้นถ้ามีใครเชิญไปช่วยกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะยินดีไปร่วมด้วยทุก ครั้ง     เอ....หรืออาจเพราะกำลังจะย่างเข้าเป็นสาว (เหลือ )น้อย      จึงต้องไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจะได้เตรียมพร้อมให้กับตัวเองในภาย หน้า

หมออ๊อด ( ทพ.สมศักดิ์  เลิศจีระจรัส )

กล่าวรายงาน

ทีมงานน้องน้อยและน้องยาคนสวย

ส่วนคนตรงกลาง คือคุณหมอนนท์ 

คนที่มาตามงานจากส่วนกลาง

น้องตุ่น (กฤษณา  เลิศเรืองปัญญา ) 

ทำหน้าที่ดำเนินรายการ ซึ่งสร้างบรรยากาศสนุกสนานให้กับผู้สูงอายุได้อย่างดี

 

               จะสังเกตว่ากิจกรรมใดที่เกี่ยวกับผู้สูงวัยมักจะมีผู้สูงอายุมาร่วมกัน มาก    อย่างเช่นวันนั้นก็มีผู้มาร่วมกิจกรรมประมาณ เกือบ 200 คน  ทุกคนดูพร้อมและมีความสุขมากที่จะได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน

 ผอก.ศูนย์อนามัยที่ 10 ชียงใหม่

 กล่าวเปิดงาน

 วันแรกหลังจากท่านผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10 ได้กล่าวทักทายและเปิดงานอย่างเป็นทางการแล้ว   ก็เป็นการบรรยายเรื่อง   แนวคิดและกระบวนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ   โดย รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ  ศรีศิลปนันท์   ส่วนใหญ่เน้นการส่งเสริมป้องกันมากกว่ารักษา   และผู้ที่ดูแลได้ดีที่สุด  คือตัวผู้สูงอายุเอง  โดยมีบุคลากรทางสาธารณสุขเป็นเพียงพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ  ประสานงาน  

ศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ  ศรีศิลปนันท์

 

            หลังการบรรยายในวันนั้นก็ได้มีการแบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์      ในหัวข้อเกี่ยวกับ  รูปแบบ  ระบบสนับสนุน  ระบบบริการ หรือกิจกร   รมที่ดำเนินการในชมรมผู้สูงอายุ   โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม   ซึ่งจะนำเสนอเป็นตัวอย่างบางกลุ่ม   เพราะผู้เขียนไม่ได้ติดตามฟังอย่างละเอียดในบางกลุ่ม ลองตามอ่านการสรุปในแต่ละกลุ่มดูนะคะ


กลุ่มที่ 1

นายดี  บุญมา  (ประธานผู้สูงอยุ  ต.ท่ากว้าง  อ.สารภี)และ  ทพญ.ธาวินี  ฤดีจรูญรุ่ง  กำลังนำเสนอ แบบรับลูกกันดีจริงๆ  โดยนำเสนอตามที่โจทย์แต่ละข้อกำหนดมา

 

 1.     แรงจูงใจที่เข้าร่วมชมรม 

          เข้ามาทำเพราะมีใจอยากทำเพื่อให้เกิดผลงานที่ดี, ให้ผู้สูงอายุมีความสุข/มีคุณภาพชีวิตที่ดี (ไม่ได้เข้ามาทำเพียงเพราะหน้าที่), เอาใจเข้าไปทำ สละทั้งใจและกาย  เลือกเริ่มต้นจากผู้สูงอายุ ชมรมที่มีใจร่วมกันทำเช่นกัน)

 2.     บทบาทของแต่ละบุคคล 

  • บุคลากรสาธารณสุข   เป็นผู้ให้องค์ความรู้, สนับสนุน, ติดตาม, ประสานงาน,หยิบยกต้นแบบที่ดีนำมาเสนอ

  • ผู้สูงอายุในชมรม   เป็นผู้คิดพัฒนาเพื่อสร้างกิจกรรม และปรับให้เข้ากับริบท   

  • ชมรมของตนเอง เผยแพร่ แก่บุคคลอื่น, อสม.,

    องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น, วัด, โรงเรียน, ภาคีเครือข่ายที่ทำให้งานเกิดขึ้นและยั่งยืน    

  3.     กิจกรรมที่มี 

นำการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเข้าไปสอดแทรกกับเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ  โดยเฉพาะเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพ ให้ความสำคัญทั้งสุขภาพกาย/จิตใจ/สังคม

-   จัดการตรวจฟันคู่กับการตรวจสุขภาพร่างกาย/ความดัน  สอดให้ตรวจฟันกันเอง, ดูแลกันเอง เยี่ยมบ้าน (เพื่อนเยี่ยมเพื่อน)

-   สนับสนุนการใส่ฟันปลอมทดแทน  เพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันเคี้ยว (อย่างน้อย 20 ซี่), เกิดความมั่นใจในการเข้าสังคม, สามารถยิ้มได้อย่างมั่นใจ

-   ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง, พัฒนาทักษะในชมรม, จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ทำกิจกรรมกันเองตามบริบท  และติดตามต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

 4. ปัจจัยความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ 

         คือ  “รอยยิ้มของผู้สูงอายุ”   รอยยิ้มที่แตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ, ภูมิใจที่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 5. แนวทางการดำเนินงานต่อไป 

-เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับชมรมผู้สูงอายุทำงานด้วยใจร่วมกัน

- ขยายความรู้สู่เครือข่ายอื่น ๆ ในชุมชน เช่น

      " อุ๊ยฮักหลาน”,

      “ภูมิปัญญาชายบ้าน ถ่ายทอดสู่รุ่นหลัง”

- พัฒนาให้ชมรมเข้มแข็ง, สร้างภาคีเครือข่าย


   ปิดท้ายด้วยภาพน่ารักๆของ กลุ่มที่ 1   เพราะตรงกับวันวาเลนไทน์ พ่ออุ๊ยขอติดรูปหัวใจเล็กๆที่ปกเสื้อคุณหมอ แทนคำ  "ขอบคุณ"  ที่ดูแลฟันอุ๊ยตลอดมา 

 

 รออ่านผลการ ลปรร  ในกลุ่มต่อไปนะคะ

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/mananya444/428674

ไปฟังผู้สูงอายุเล่า การดูแลช่องปาก ตอน 2 ณ วินเพลส

ไปฟังผู้สูงวัยเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 2

ไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย...พระราชดำรัสของในหลวง

กลุ่มเล่าว่า เล่าว่าเริ่มทำงานนี้มาตั้งแต่ปี  เริ่มปี 2548    และคิดว่ากุญแจสำคัญที่อยากทำ  คือ

  • เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ขาดอุปกรณ์,ยูนิตฟัน

  • มีคนทำงาน + ผู้นำท้องถิ่น/อบต, ทต.

  • มีโครงการฟันเทียมพระราชทาน + งานวิจัย

  • คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในมุมมอง ผู้สูงอายุ เวลาผู้สูงอายุไม่มีฟัน กินข้าวไม่ได้ ไม่อร่อย  ไม่มั่นใจ



      โดยกลุ่มนี้ได้สรุปเรื่องเล่าออกมาเป็นดังภาพข้างล่างนี้

 

ภาพกลุ่มที่ 3

           ส่วนกลุ่มที่ 3  เป็นกลุ่มที่เล่าเกี่ยวกับบทบาทผู้สูงอายุกับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

ในภาพคุณหมอนนท์ เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่มกำลังชี้แจงแนวทางการ ลปรร.   ซึ่งพอสรุปกิจกรรมและกระบวนการที่ทำได้ดังนี้

 

นำแกนนำแต่ละตำบลมาประชุมเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก และนำแกนได้ข้อมูลที่ได้รับไปประชุมผู้สูงอายุหมู่บ้านของตัวเอง

 

2 ผู้ สูงอายุเกิดความรู้ในการดูแลเรื่องสุขภาพในช่องปาก และฟัน เกิดกิจกรรม เช่น สร้างชมรม เช่น การแปรงฟันให้ถูกวิธี  การย้อมสีฟัน  มีการจับคู่กันตรวจฟันและการทำแบบบันทึกในการ ตรวจฟันแต่ละครั้ง

 

3 ทำให้ผู้อายุมีสุขภาพใจ และกายที่ดีขึ้น

 

กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพในช่องปาก

-  ฝึกฝนดนตรี

-  ขี่รถเต้นแอร์

-  เผยแพร่งานครัว

-  รวมตัวเข้าวัด

-  ฝึกหัดอานเขียน

-  เรียนรู้สมุนไพร

-  อนามัยจากคุณหมอ

 

5   ปัจจุบันชมรมผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพช่องปากมากขึ้น  โดยจะนำความรู้ที่ได้รับปรับปรุง ดูแล สุขภาพและฟันมากขึ้น

 

6   เครือข่ายที่สำคัญที่จะมาช่วย เช่น รพ. (บูรณาการ เช่น ฝ่ายการพยาบาล, เภสัช, ทันต, อปท., อบต, สสส.จนท.อนามัย

 

ผลการประชุมกลุ่ม 

            ได้รับความร่วมมือสมาชิกเป็นอย่างดี  และจะนำไปปรับปรุงในแต่ละชมรมผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่มา http://gotoknow.org/blog/mananya444/428704

ไปฟังผู้สูงอายุเล่า การดูแลช่องปาก ตอน 3 ณ วินเพลส

ไปฟังผู้สูงอายุเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 3

         ต่อจากตอนที่แล้ว คราวนี้เป็นการให้ตัวแทนแต่ละจังหวัดช่วยกันล้อมวงคุยกัน  ตามโจทย์ที่ผู้จัดมอบหมายให้   เพื่อหาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ  ลองตามอ่านดูนะคะ

กำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้เป้าหมาย 1 อ. 1 ชมรม 

  • ประชาสัมพันธ์     รวมกลุ่มชมรมและสำรวจฐานข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่

  • กำหนดบทบาท  แต่งตั้งคณะทำงานในชมรมผู้สูงอายุ

  • หาภาคีเครือข่าย ร่วมเป็นคณะทำงาน  และจัดประชุมเวทีภาคีเครือข่าย  เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานในพื้นที่  และสนับสนุนงบประมาณ

  • จัดทำโครงการ  กำหนดเป้าหมายและกิจกรรมที่จะดำเนินงาน  เพื่อจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ  โดยเชิญชวนผู้สูงอายุจิตอาสา จากชมรมที่เข้มแข็ง  มีการคัดเลือกประธาน  รองประธาน  เลขา   กำหนดกิจกรรมโครงการที่จะดำเนินงานภายในปี 54

  • เฝ้าระวังทันตสาธารณสุข ปีละ 4 ครั้ง

 

แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชมรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน 

  • มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันเป็นระยะ ๆกับผู้สูงอายุ

  • ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สุขภาพช่องปากแก่ประชาชนบ่อย ๆ   โดยผ่านการจัดวิทยุชุมชน

  • สอดแทรกกิจกรรมแปรงฟันที่ถูก วิธีในทุกวันศุกร์  18.00 – 19.00 น. ในการออกกำลังกายทุกอย่าง เช่น  ร้านกระบอก  ไทเก๊ก  และที่วัด  ทุกวันพระโดยเอาแปรงสีฟัน + ยาสีฟันไปด้วย

  • จัดป้ายประชาสัมพันธ์ช่วงที่จะดำเนินกิจกรรม

  • ติดตามประเมิน ปีละ ครั้ง ร่วมกันทุกฝ่าย

 

แนวทางการสร้างภาคีเครือข่าย  เพื่อขยายให้ครอบคลุม  1  อำเภอ  1  ตำบล

  • ประชุมสัญจร  สร้างเครือข่าย

  • ศึกษาดูงาน

 

สิ่งที่ชมรมผู้สูงอายุต้องการสนับสนุน

  • สื่อในการสอน  โปสเตอร์  โมเดล  แปรงสีฟัน

  • เม็ดสีย้อมฟัน

  • วิทยากร  (ทันตบุคลากร  สาธารณสุขชุมชน  พยาบาล)

  • งบประมาณในการดำเนินงานเริ่มแรก

    เป็นภาพรวมของแนวคิดของพ่อ อุ๊ยแม่อุ๊ย  และคุณหมอทั้งหลายที่ช่วยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในวันนั้นกัน     เพื่อที่จะผลักดันให้เกิดชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ  1 อำเภอ  1 ชมรม    ช่วยกันเป็นกำลังใจกันต่อไปนะคะ

    ที่มา : http://gotoknow.org/blog/mananya444/430099
  •  

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีดำหัวปีใหม่เมือง

ประเพณีดำหัวปีใหม่เมือง
เชิญเริ่มจัดงานประเพณีดำหัวปีใหม่เมือง
ที่ใกล้จะถึงนี้พร้อมยินดีที่จะรับใช้และ
อำนวยความสะดวกอาทิ
สลุงน้ำส้มป่อย ข้อความป้าย อาหารรสเลิศ
        เพื่อเป็น การแสดงออกถึงความรัก
ความกตัญญูต่อผู้สูงอายุ ผู้มีพระคุณ 
ก่อให้เกิดความร่วมมือ
          ในอันที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กั
สังคม เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป 
พร้อมกับการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ อีกทั้ง
ยังเป็นการสืบสานประเพณีปีใหม่เมือง 
 ประจำปี 2554
    
โทร 053 812 702 - 5  













วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

แผนที่ โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่

แผนที่ โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่





ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 21

โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่ บูธ G191
"ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 21"
ระหว่าง 3 - 6 มีนาคม 2554 
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์








เที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก 8

โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่ บูธ C130 
“เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก ครั้งที่ 8”
Thai International Travel Fair 2011 
วันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ 2554 
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์