ไปฟังผู้สูงวัยเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 2
ไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย...พระราชดำรัสของในหลวง
กลุ่มเล่าว่า เล่าว่าเริ่มทำงานนี้มาตั้งแต่ปี เริ่มปี 2548 และคิดว่ากุญแจสำคัญที่อยากทำ คือ
-
เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ขาดอุปกรณ์,ยูนิตฟัน
-
มีคนทำงาน + ผู้นำท้องถิ่น/อบต, ทต.
-
มีโครงการฟันเทียมพระราชทาน + งานวิจัย
-
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในมุมมอง ผู้สูงอายุ เวลาผู้สูงอายุไม่มีฟัน กินข้าวไม่ได้ ไม่อร่อย ไม่มั่นใจ
โดยกลุ่มนี้ได้สรุปเรื่องเล่าออกมาเป็นดังภาพข้างล่างนี้
ภาพกลุ่มที่ 3
ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่เล่าเกี่ยวกับบทบาทผู้สูงอายุกับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
ในภาพคุณหมอนนท์ เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่มกำลังชี้แจงแนวทางการ ลปรร. ซึ่งพอสรุปกิจกรรมและกระบวนการที่ทำได้ดังนี้
1 นำแกนนำแต่ละตำบลมาประชุมเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก และนำแกนได้ข้อมูลที่ได้รับไปประชุมผู้สูงอายุหมู่บ้านของตัวเอง
2 ผู้ สูงอายุเกิดความรู้ในการดูแลเรื่องสุขภาพในช่องปาก และฟัน เกิดกิจกรรม เช่น สร้างชมรม เช่น การแปรงฟันให้ถูกวิธี การย้อมสีฟัน มีการจับคู่กันตรวจฟันและการทำแบบบันทึกในการ ตรวจฟันแต่ละครั้ง
3 ทำให้ผู้อายุมีสุขภาพใจ และกายที่ดีขึ้น
4 กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพในช่องปาก
- ฝึกฝนดนตรี
- ขี่รถเต้นแอร์
- เผยแพร่งานครัว
- รวมตัวเข้าวัด
- ฝึกหัดอานเขียน
- เรียนรู้สมุนไพร
- อนามัยจากคุณหมอ
5 ปัจจุบันชมรมผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพช่องปากมากขึ้น โดยจะนำความรู้ที่ได้รับปรับปรุง ดูแล สุขภาพและฟันมากขึ้น
6 เครือข่ายที่สำคัญที่จะมาช่วย เช่น รพ. (บูรณาการ เช่น ฝ่ายการพยาบาล, เภสัช, ทันต, อปท., อบต, สสส.จนท.อนามัย
ผลการประชุมกลุ่ม
ได้รับความร่วมมือสมาชิกเป็นอย่างดี และจะนำไปปรับปรุงในแต่ละชมรมผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ที่มา http://gotoknow.org/blog/mananya444/428704
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น