โรงแรมวินเพลส เชียงใหม่

รูปภาพของฉัน
เชียงใหม่, Thailand
Win Place for your Beautiful Vacation

คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไปฟังผู้สูงวัยเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 1 ณ วินเพลส

ไปฟังผู้สูงวัยเล่าเรื่อง การดูแลช่องปาก ตอนที่ 1 

จะเล่าเรื่องที่ได้ไปร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดต่อเนื่อง มาตลอดทุกปี  เรื่อง  “การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ”   ปีนี้ได้จัดที่  โรงแรมวินเพลส  จ. เชียงใหม่   เมื่อวันแห่งความรัก  14-15 กุมภาพันธ์  54  ที่ผ่านมา   ซึ่งจัดโดยงานทันตสาธารณสุขศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่  ซึ่งมีผู้รับผิดชอบ คือ หมออ๊อด  (รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10)  และ สาวงามของงานทันตสาธารณสุขอีก 2 คือ น้องน้อยคนงามและน้องยาคนสวย  ( เรื่องความสวยงามไม่มีใครยอมใคร  อิอิ   เลยต้องชมทั้งสองคน )  ส่วนผู้เขียนไม่ได้เกี่ยวกับงานทันตฯ  แต่ไปในนามของคณะกรรมการ  PMQA หมวด 4     ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปจับผิด   เอ๊ย   จับประเด็นการ ลปรร.   แต่ส่วนตัวก็ชอบงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอยู่เป็นทุนเดิม     ฉะนั้นถ้ามีใครเชิญไปช่วยกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะยินดีไปร่วมด้วยทุก ครั้ง     เอ....หรืออาจเพราะกำลังจะย่างเข้าเป็นสาว (เหลือ )น้อย      จึงต้องไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจะได้เตรียมพร้อมให้กับตัวเองในภาย หน้า

หมออ๊อด ( ทพ.สมศักดิ์  เลิศจีระจรัส )

กล่าวรายงาน

ทีมงานน้องน้อยและน้องยาคนสวย

ส่วนคนตรงกลาง คือคุณหมอนนท์ 

คนที่มาตามงานจากส่วนกลาง

น้องตุ่น (กฤษณา  เลิศเรืองปัญญา ) 

ทำหน้าที่ดำเนินรายการ ซึ่งสร้างบรรยากาศสนุกสนานให้กับผู้สูงอายุได้อย่างดี

 

               จะสังเกตว่ากิจกรรมใดที่เกี่ยวกับผู้สูงวัยมักจะมีผู้สูงอายุมาร่วมกัน มาก    อย่างเช่นวันนั้นก็มีผู้มาร่วมกิจกรรมประมาณ เกือบ 200 คน  ทุกคนดูพร้อมและมีความสุขมากที่จะได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน

 ผอก.ศูนย์อนามัยที่ 10 ชียงใหม่

 กล่าวเปิดงาน

 วันแรกหลังจากท่านผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10 ได้กล่าวทักทายและเปิดงานอย่างเป็นทางการแล้ว   ก็เป็นการบรรยายเรื่อง   แนวคิดและกระบวนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ   โดย รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ  ศรีศิลปนันท์   ส่วนใหญ่เน้นการส่งเสริมป้องกันมากกว่ารักษา   และผู้ที่ดูแลได้ดีที่สุด  คือตัวผู้สูงอายุเอง  โดยมีบุคลากรทางสาธารณสุขเป็นเพียงพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ  ประสานงาน  

ศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ  ศรีศิลปนันท์

 

            หลังการบรรยายในวันนั้นก็ได้มีการแบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์      ในหัวข้อเกี่ยวกับ  รูปแบบ  ระบบสนับสนุน  ระบบบริการ หรือกิจกร   รมที่ดำเนินการในชมรมผู้สูงอายุ   โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม   ซึ่งจะนำเสนอเป็นตัวอย่างบางกลุ่ม   เพราะผู้เขียนไม่ได้ติดตามฟังอย่างละเอียดในบางกลุ่ม ลองตามอ่านการสรุปในแต่ละกลุ่มดูนะคะ


กลุ่มที่ 1

นายดี  บุญมา  (ประธานผู้สูงอยุ  ต.ท่ากว้าง  อ.สารภี)และ  ทพญ.ธาวินี  ฤดีจรูญรุ่ง  กำลังนำเสนอ แบบรับลูกกันดีจริงๆ  โดยนำเสนอตามที่โจทย์แต่ละข้อกำหนดมา

 

 1.     แรงจูงใจที่เข้าร่วมชมรม 

          เข้ามาทำเพราะมีใจอยากทำเพื่อให้เกิดผลงานที่ดี, ให้ผู้สูงอายุมีความสุข/มีคุณภาพชีวิตที่ดี (ไม่ได้เข้ามาทำเพียงเพราะหน้าที่), เอาใจเข้าไปทำ สละทั้งใจและกาย  เลือกเริ่มต้นจากผู้สูงอายุ ชมรมที่มีใจร่วมกันทำเช่นกัน)

 2.     บทบาทของแต่ละบุคคล 

  • บุคลากรสาธารณสุข   เป็นผู้ให้องค์ความรู้, สนับสนุน, ติดตาม, ประสานงาน,หยิบยกต้นแบบที่ดีนำมาเสนอ

  • ผู้สูงอายุในชมรม   เป็นผู้คิดพัฒนาเพื่อสร้างกิจกรรม และปรับให้เข้ากับริบท   

  • ชมรมของตนเอง เผยแพร่ แก่บุคคลอื่น, อสม.,

    องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น, วัด, โรงเรียน, ภาคีเครือข่ายที่ทำให้งานเกิดขึ้นและยั่งยืน    

  3.     กิจกรรมที่มี 

นำการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเข้าไปสอดแทรกกับเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ  โดยเฉพาะเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพ ให้ความสำคัญทั้งสุขภาพกาย/จิตใจ/สังคม

-   จัดการตรวจฟันคู่กับการตรวจสุขภาพร่างกาย/ความดัน  สอดให้ตรวจฟันกันเอง, ดูแลกันเอง เยี่ยมบ้าน (เพื่อนเยี่ยมเพื่อน)

-   สนับสนุนการใส่ฟันปลอมทดแทน  เพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันเคี้ยว (อย่างน้อย 20 ซี่), เกิดความมั่นใจในการเข้าสังคม, สามารถยิ้มได้อย่างมั่นใจ

-   ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง, พัฒนาทักษะในชมรม, จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ทำกิจกรรมกันเองตามบริบท  และติดตามต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

 4. ปัจจัยความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ 

         คือ  “รอยยิ้มของผู้สูงอายุ”   รอยยิ้มที่แตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ, ภูมิใจที่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 5. แนวทางการดำเนินงานต่อไป 

-เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับชมรมผู้สูงอายุทำงานด้วยใจร่วมกัน

- ขยายความรู้สู่เครือข่ายอื่น ๆ ในชุมชน เช่น

      " อุ๊ยฮักหลาน”,

      “ภูมิปัญญาชายบ้าน ถ่ายทอดสู่รุ่นหลัง”

- พัฒนาให้ชมรมเข้มแข็ง, สร้างภาคีเครือข่าย


   ปิดท้ายด้วยภาพน่ารักๆของ กลุ่มที่ 1   เพราะตรงกับวันวาเลนไทน์ พ่ออุ๊ยขอติดรูปหัวใจเล็กๆที่ปกเสื้อคุณหมอ แทนคำ  "ขอบคุณ"  ที่ดูแลฟันอุ๊ยตลอดมา 

 

 รออ่านผลการ ลปรร  ในกลุ่มต่อไปนะคะ

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/mananya444/428674

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น